วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อำมาตย์ จง ระวัง !

สมัคร สุนทรเวช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมัคร สุนทรเวช
สมัคร สุนทรเวช


นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 25
ดำรงตำแหน่ง
29 มกราคมพ.ศ. 2551- 9 กันยายน พ.ศ. 2551
(คำวินิจฉัยของศาล รธน.)
ปฏิบัติราชการแทนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
สมัยก่อนหน้าพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
สมัยถัดไปนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 9 กันยายน พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีนายสมัคร สุนทรเวช
สมัยก่อนหน้าพลเอก บุญรอด สมทัศน์
สมัยถัดไปนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 - 19 ตุลาคม พ.ศ. 2520
นายกรัฐมนตรีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร
สมัยก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
สมัยถัดไปพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์


ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
23 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2547
สมัยก่อนหน้าดร.พิจิตต รัตตกุล
สมัยถัดไปนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน


หัวหน้าพรรคพลังประชาชน
ดำรงตำแหน่ง
24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 - 30 กันยายน พ.ศ. 2551
สมัยก่อนหน้านางสาวสุภาพร เทียนแก้ว
สมัยถัดไปนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์


หัวหน้าพรรคประชากรไทย
ดำรงตำแหน่ง
9 มีนาคม พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2543
สมัยถัดไปนายสุมิตร สุนทรเวช

เกิด13 มิถุนายน พ.ศ. 2478
Flag of ไทย กรุงเทพฯ ประเทศไทย
ถึงแก่อสัญกรรม24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 (74 ปี)
Flag of ไทย กรุงเทพฯ ประเทศไทย
สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2551)
ประชากรไทย (พ.ศ. 2522)
ประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2511)
สมรสกับคุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช
ศาสนาพุทธ
ลายมือชื่อThai-PM-samak signature.PNG

นายสมัคร สุนทรเวช (ชื่อจีน: 李沙馬 Lǐ Shāmǎ[1]; 13 มิถุนายน 247824 พฤศจิกายน 2552) เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนที่ 25 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ดำรงตำแหน่ง 29 มกราคม พ.ศ. 25519 กันยายน พ.ศ. 2551) หัวหน้าพรรคพลังประชาชน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ก่อตั้งพรรคประชากรไทย เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นนักการเมืองเก่าแก่ ที่มีเสียงพูดและลีลาการพูดเป็นเอกลักษณ์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย เช่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (2 สมัย) ได้ฉายาจากสื่อมวลชนทั่วไปว่า "น้าหมัก" "ออหมัก" หรือ "ชมพู่" (มาจากลักษณะจมูกของนายสมัคร) "ชาวนา" (จากกรณีกลุ่มงูเห่า) เป็นต้น

นายสมัครเริ่มทำงานหลังจบนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เป็นสื่อมวลชนสายการเมือง โดยเขียนบทความ และความคิดเห็น ทางการเมืองแบบไม่ประจำใน หนังสือพิมพ์สยามรัฐ, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และชาวกรุง ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 จนถึง 2516 เขียนบทความ การเมืองในหนังสือพิมพ์ประชาไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2517 จนถึง 2520 และเขียนบทความในคอลัมน์ประจำ "มุมน้ำเงิน" หนังสือพิมพ์เดลิมิเร่อร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 จนถึง 2537

นายสมัครข้ามจากการเป็นสื่ออย่างเดียว มาเริ่มต้นชีวิตการเมืองโดยเข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี 2511 ลงสมัครตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนขึ้นถึงระดับชาติ จนมามีบทบาทโดดเด่นช่วงปี 2519 จากการจัดรายการสถานีวิทยุยานเกราะ ที่มีเนื้อหาโจมตีบทบาทของ ขบวนการนักศึกษาในสมัยนั้น พร้อมทั้งปลุกระดมมวลชนให้เกลียดชังขบวนการนักศึกษา และ เป็นศูนย์กลางประสานงาน ถ่ายทอดกำหนดการ และคำสั่งเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านนักศึกษาใน เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519

เมื่อสิ้นสุดเหตุการณ์ ในปี พ.ศ. 2519 นายสมัครได้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อม ๆ กับการลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และในปี พ.ศ. 2522 ได้ก่อตั้ง พรรคประชากรไทย และดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค มีฐานคะแนนเสียงหลักในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะในเขตที่มีหน่วยทหารตั้งอยู่หนาแน่น

ความคิดและบทบาทของนายสมัคร มักสร้างกระแสมวลชน ทั้งสนับสนุนและคัดค้าน ได้อย่าง กว้างขวางร้อนแรง ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์ 6 ตุลา, พฤษภาทมิฬ, ไอเดียหนุนกระทงโฟม ไล่มาจนถึง การกล่าวโจมตี ประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ทางรายการโทรทัศน์ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2549

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น