วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552
เอบราแฮม ลินคอร์น
"บ้านที่แตกแยกกันเอง
ไม่อาจตั้งอยู่ได้ "
[ A House divided against it self cannot stand ]
ชีวิตการเมือง
คนที่รู้จักลินคอร์นตั้งแต่สมัยที่เขายังไม่ได้ลงสนามการเมืองการเลือกตั้ง กล่าวว่า ไม่มีอะไรในชีวิตที่มีความหมายและสำคัญแก่เขามากเท่าการเมือง เขาหายใจเข้าออกเป็นการเมืองหมด พูดได้ว่าลินคอร์นตกหลุมรักการเมืองตั้งแต่เขาเริ่มแตกหนุ่มและฟังความในการปราศัยหาเสียงของนักการเมืองได้รู้เรื่อง แต่ลินคอร์นก็ไม่ใช่นักการเมืองมีอุดมการณ์ แรงกล้าหรือมีความคิดการเมืองก้าวหน้าเหมือนอย่างประธานเหมาเจ๋อตง ตรงกันข้าม ลินคอร์น
ชอบเเละอยากเล่นการเมืองเหมือนคนหนุ่มๆ
ในหัวเมืองทั้งหลายกล่าวกันว่าคนหนุ่มที่ไม่มีการตระเตรียมในอาชีพทางธุรกิจมาก่อนเพราะยากจนหรือไม่มีเส้นสายนั้น หนทางแห่งอาชีพในหัวเมืองแถวนั้นได้แก่ หนึ่ง ทำงานใน โบสถ์ สอง ในสำนักงานกฎหมาย และสุดท้าย ในวงการเมือง ลินคอร์นเป็นพระและศาสนจารย์ไม่ได้ เพราะเขาอ่านและชอบความคิดการเมืองของ ทอม เพนน์ซึ่งเป็นนักปฎิวัติและนักวิพากษ์ ระบอบกษัตริย์และศาสนา เป็นนักกฎหมายหรือนักธุรกิจก็ยาก เนื่องจากลินคอร์นไม่ได้มีเส้นสายจากครอบครัวญาติพี่น้อง เขาจึงตั้งความหวังไปที่การเมืองว่าจะเป็นคำตอบให้แก่อนาคตของคนสามัญที่ไม่มีอะไรเลย
**ประวัติครอบครัวของลินคอร์นนั้นเป็นประวัติของคนรากหญ้าสามัญจริงๆ ไม่ได้สวยหรูร่ำรวยมีเชื้อผู้ดีแปดสาแหรกมาจากไหน เขามาจากครอบครัวที่ไม่มีประธานาธิบดี อเมริกันคนไหนมีกำเนิดอันต่ำต้อยเช่นนี้
ประโยควรรคทอง ของลินคอร์น
" ภายใต้พระเจ้า จะมีการเกิดใหม่แห่งเสรีภาพ รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน
จะไม่ถูกทำลายไปจากโลกนี้ "
ที่มา 200 ปี เอบราแฮม ลินคอร์น
Magazine สารคดี
วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ครบ 1 ปี โจร พธม ยึดสนามบิน ???
ทำลายชื่อเสียงประเทศ ย่อยยับ อย่างที่ไม่อาจจะประเมิณค่าความเสียหายเป็นตัวเลขได้
ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น ?
รัฐบาล โจรจัดตั้ง ก็ยังนิ่งเฉยไม่ได้มีความจริงใจที่จะแก้ไขความขัดแย้งในสังคมที่รอวันปะทุ
ไม่ต้องสงสัยอีกต่อไป แล้วว่าเริ่มต้นมายังไง ชาวบ้านทั่วไปรู้เรื่องการเมืองมากกว่าแต่ก่อนมาก
รอวันเลือกตั้งครั้งหน้า เพื่อจะสั่งสอน ไอ้ พรรคการเมือง และนักการเมืองชั่วให้หายไปจากเมืองไทย
รวมทั้งผู้อยู่เบื้องหลังทั้งหลาย ประชาชน ตาสว่างกันทั้งประเทศแล้ว นะ! จะบอกให้
ถ้ายังไม่วางมือ ให้ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง ประวัติศาสตร์ อาจต้องบันทึก ว่า
ประเทศไทย...........หมดสิ้นแล้ว...ระบอบ.......!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!
อำมาตย์ จง ระวัง !
สมัคร สุนทรเวช
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นายสมัคร สุนทรเวช (ชื่อจีน: 李沙馬 Lǐ Shāmǎ[1]; 13 มิถุนายน 2478 — 24 พฤศจิกายน 2552) เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนที่ 25 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ดำรงตำแหน่ง 29 มกราคม พ.ศ. 2551 — 9 กันยายน พ.ศ. 2551) หัวหน้าพรรคพลังประชาชน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ก่อตั้งพรรคประชากรไทย เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นนักการเมืองเก่าแก่ ที่มีเสียงพูดและลีลาการพูดเป็นเอกลักษณ์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย เช่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (2 สมัย) ได้ฉายาจากสื่อมวลชนทั่วไปว่า "น้าหมัก" "ออหมัก" หรือ "ชมพู่" (มาจากลักษณะจมูกของนายสมัคร) "ชาวนา" (จากกรณีกลุ่มงูเห่า) เป็นต้น
นายสมัครเริ่มทำงานหลังจบนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เป็นสื่อมวลชนสายการเมือง โดยเขียนบทความ และความคิดเห็น ทางการเมืองแบบไม่ประจำใน หนังสือพิมพ์สยามรัฐ, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และชาวกรุง ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 จนถึง 2516 เขียนบทความ การเมืองในหนังสือพิมพ์ประชาไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2517 จนถึง 2520 และเขียนบทความในคอลัมน์ประจำ "มุมน้ำเงิน" หนังสือพิมพ์เดลิมิเร่อร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 จนถึง 2537
นายสมัครข้ามจากการเป็นสื่ออย่างเดียว มาเริ่มต้นชีวิตการเมืองโดยเข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี 2511 ลงสมัครตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนขึ้นถึงระดับชาติ จนมามีบทบาทโดดเด่นช่วงปี 2519 จากการจัดรายการสถานีวิทยุยานเกราะ ที่มีเนื้อหาโจมตีบทบาทของ ขบวนการนักศึกษาในสมัยนั้น พร้อมทั้งปลุกระดมมวลชนให้เกลียดชังขบวนการนักศึกษา และ เป็นศูนย์กลางประสานงาน ถ่ายทอดกำหนดการ และคำสั่งเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านนักศึกษาใน เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
เมื่อสิ้นสุดเหตุการณ์ ในปี พ.ศ. 2519 นายสมัครได้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อม ๆ กับการลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และในปี พ.ศ. 2522 ได้ก่อตั้ง พรรคประชากรไทย และดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค มีฐานคะแนนเสียงหลักในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะในเขตที่มีหน่วยทหารตั้งอยู่หนาแน่น
ความคิดและบทบาทของนายสมัคร มักสร้างกระแสมวลชน ทั้งสนับสนุนและคัดค้าน ได้อย่าง กว้างขวางร้อนแรง ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์ 6 ตุลา, พฤษภาทมิฬ, ไอเดียหนุนกระทงโฟม ไล่มาจนถึง การกล่าวโจมตี ประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ทางรายการโทรทัศน์ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2549
วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ยึดอำนาจ อำมาตย์ใหญ่
สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ (ภาษากรีก: Γεώργιος Β', Βασιλεύς των Ελλήνων) (20 กรกฎาคม พ.ศ. 2433 - 1 เมษายน พ.ศ. 2490) ทรงปกครองกรีซตั้งแต่ พ.ศ. 2465 - พ.ศ. 2468 และตั้งแต่ พ.ศ. 2478 - พ.ศ. 2490
เจ้าชายจอร์จทรงพระราชสมภพที่พระตำหนักในพระราชวังตาตอย ใกล้เอเธนส์ ทรงเป็นพระโอรสพระองค์ในสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซกับพระมเหสีเจ้าหญิงโซฟีแห่งปรัสเซีย พระองค์ทรงเป็นพระปนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรและทรงเป็นพระนัดดาในสมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 1 แห่งกรีซ ชาวเดนมาร์กเจ้าชายแห่งกวอกเบิร์ก ผู้ซึ่งได้รับเลือกเป็นกษัตริย์ในปีพ.ศ. 2406 ราชวงศืของเจ้าชายจอร์จเป็นหนึ่งในห้าเชื้อสายของราชวงศ์ไบแซนไทน์
เจ้าชายจอร์จทรงดำเนินการงานทางด้านกองทัพ ทรงเข้าการฝึกกับราชองครักษ์แห่งปรัสเซียเมื่อพระชนมายุ 18 พรรษา จากนั้นทรงเข้าร่วมการรบในสงครามบอลข่านเป็นหนึ่งในกองทัพทหารราบกรีก เมื่อพระอัยกาทรงถูกลอบปลงพระชนม์ในปีพ.ศ. 2457 เจ้าชายจอร์จจึงกลายเป็นรัชทายาทในพระยศ ดยุคแห่งสปาร์ตา
หลังจากการรัฐประหารยึดอำนาจสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 มกุฎราชกุมารจอร์จทรงลี้ภัยไปพร้อมกับพระบิดาในปีพ.ศ. 2461 พระอนุชาของพระองค์คือ สมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งกรีซ ได้รับเลือกเป็นกษัตริย์โดยการแต่งตั้งของนายกรัฐมนตรี อีเลฟเทอริออส เวนิเซลอส เป็นสาธารณรัฐอย่างแท้จริง
เมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์ทรงสวรรคตหลังจากทรงติดเชื้อหลัง จากถูกวานรกัดในปีพ.ศ. 2463 เวนิเซลอสถูกลงมติให้พ้นจากตำแหน่งและการลงมติจากประชาชนได้ให้พระราชาธิบดี คอนสแตนตินกลับคืนสู่ราชบัลลังก์ มกุฎราชกุมารจอร์จทรงได้เป็นพันเอกหลังจากการทำสงครามต่อต้านตุรกี ในช่วงนี้ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย พระธิดาในสมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนียกับสมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 ณ บูคาเรสต์ โรมาเนีย เมื่อกองทัพเติร์กชนะกองทัพกรีซในสงครามอิสเมอร์ พระราชาธิบดีคอนสแตนตินทรงสละราชสมบัติและเจ้าชายจอร์จทรงครองราชสมบัติสืบต่อในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2465
การพ่ายแพ้ครั้งนี้ทำให้พระราชวงศ์ถูกยึดอำนาจโดยนายกรัฐมนตรี เอียนนิส เมทาซัสใน เดือนตุลาคม พ.ศ. 2466 เหล่าคณะปฏิวัติได้เสนอให้พระองค์ออกจากประเทศในขณะที่คณะชาติได้พิจารณา ปัญหารัฐบาลในอนาคต พระองค์ทรงยินยอมแต่ปฏิเสธที่จะสละราชสมบัติ ทรงออกจากประเทศในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2466 และไปยังภูมิลำเนาของพระมเหสีคือ โรมาเนีย เมื่อสาธารณรัฐได้ถูกก่อตั้งในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2467 พระองค์ทรงถูกขับออกจากราชบัลลังก์อย่างเป็นทางการ ทรงถูกถอนสัญชาติกรีกและสิทธิในทรัพย์สมบัติทั้งหมด
พระมเหสีของพระองค์ประทับที่บูคาเรสต์ พระองค์ทรงเสด็จประพาสอังกฤษและเยี่ยมพระมารดาที่ฟลอเรนซ์บ่อยๆ ในพ.ศ. 2475 ทรงเสด็จออกจากโรมาเนียไปประทับที่อังกฤษ พระองค์ทรงไม่มีพระโอรสธิดาและทรงหย่ากับเจ้าหญิงเอลิซาเบธในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2478
ที่มา วิกีพีเดีย
วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ใครสั่งฆ่า 14 ตุลา
ยังไม่ได้รับการสะสาง ชำระประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ล้อมฆ่ามนุษย์ด้วยกัน
ซึ่งความป่าดิบเถื่อนเหล่านั้นได้เกิดกลางเมือง ความจริงยังไม่ถูกเปิดเผย
แต่ว่าความลับไม่มีในโลก วันนึงความจริงต้องปรากฎ
www.14tula.com/
http://prachachon.thaingo.org/webboard/view.php?id=12881
วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552
กบฏ
กบฏบวรเดช
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กบฏบวรเดช เกิดขึ้นเมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 นับเป็นการกบฏครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 สาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างระบอบเก่าและระบอบใหม่ จากข้อโต้แย้งในเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจที่เสนอโดยนายปรีดี พนมยงค์ ที่ถูกกล่าวหาจากผู้เสียประโยชน์ว่าเป็น "คอมมูนิสต์" และชนวนสำคัญที่สุดคือข้อโต้แย้งในเรื่องพระเกียรติยศและพระราชอำนาจของพระ มหากษัตริย์ในระบอบใหม่ เป็นผลนำไปสู่การนำกำลังทหารก่อกบฏโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อันเป็นที่มาของชื่อ "กบฏบวรเดช" โดยในที่สุดฝ่ายรัฐบาลสามารถปราบปรามคณะกบฏลงได้ ส่วนพระองค์เจ้าบวรเดชหัวหน้าคณะกบฏและพระชายาได้หนีไปยังประเทศกัมพูชา
อนุสาวรีย์บริเวณหลักสี่ บางเขน กรุงเทพมหานคร ที่เรียกกันว่า "อนุสาวรีย์หลักสี่" นั้น ชื่อจริงคือ "อนุสาวรีย์ปราบกบฎ" หรือ "อนุสาวรีย์พิทักษ์ธรรมนูญ" ซึ่งรัฐบาลในสมัยนั้น ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดช
ที่มา วิกีพีเดีย
วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552
วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2552
บุรุษตาเดียว
โมเช่ ดายัน (ภาษาฮิบรู: משה דיין, Moshe Dayan; 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 – 16 ตุลาคม พ.ศ. 2524) คือผู้บัญชาการเหล่าทัพและนักการเมืองชาวอิสราเอล รู้จักกันดีในฐานะบุรุษตาเดียว
ที่มา วิกีพิเดีย
วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552
วันนี้ในอดีต
ที่มา วิกีพีเดีย...
วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552
วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2552
กว่าจะเป็นประชาธิปไตย
๑. สิ่งที่มีแล้วบังคับคนอื่นๆ ให้ทำตามที่ตัวเองต้องการได้ อย่างที่เรียกว่า อำนาจ นั้น เป็นของใครกันแน่?๒. คนตัวเล็กๆ ในสังคมควรได้รับสิทธิอะไรบ้าง?๓. สังคมที่เป็นผลมาจากการรวมตัวของคนเป็นจำนวนมากควรมีลักษณะอย่างไร?๔. แต่ละคนความคิดต่างกัน จะใช้หลักการอะไรร่วมกันเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย หรืออย่างที่ยุคนี้ชอบใช้คำว่าระเบียบ?๕. ผู้ปกครองมาจากไหน?ท่านเชื่อไหมครับว่า คำถามทั้ง ๕ นี้เป็นเรื่องที่ถามกันแล้วตอบกันอีกมานานนักหนา ส่วนใหญ่จะถามกันเมื่อเกิดทุกข์ร้อนทางการเมืองการปกครองและสังคมอย่างหนัก และเมื่อผ่านประสบการณ์บวกกับความเสียสละเลือดเนื้อกันไม่รู้กี่ร้อยปี จึงได้คำตอบที่คนอย่างเพลโต้ จัง-จาคส์ รุสโซ แม็คเคียเวลลี วอลแตร์ จอห์น สจ็วต มิลล์ อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน หรือปรีดี พนมยงค์ได้รับมา เขาตอบต่างยุคต่างสมัยแต่ใจตรงกัน ในคำถามทั้ง ๕ ข้อดังนี้
๑. อำนาจสูงสุดเป็นของปวงชน ๒. บุคคลแต่ละคนย่อมมีเสรีภาพโดยไม่ละเมิดผู้ใด๓. สังคมต้องมีความเสมอภาคกัน๔. หลักร่วมของคนในสังคมคือหลักกฎหมายหรือนิติธรรมและ ๕. รัฐบาลหรือผู้ปกครองต้องมาจากการเลือกตั้ง ทั้ง ๕ ข้อจึงกลายเป็นพื้นฐานที่สำคัญสูงสุดของระบอบประชาธิปไตยนับแต่นั้นมา ผ่านมาหลายร้อยปีแล้วหลักการนี้ก็ไม่มีเสื่อม มีแต่จะศักดิ์สิทธิ์ขึ้น ผู้คนที่ยังไม่ได้รับต่างเรียกร้องต้องการและต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้กันทั่วโลก วันนี้เราก็ยังเห็นทหารยอมคายอำนาจในปากีสถาน แต่ทหารและอำมาตย์ในฮอนดูรัสก็ยังคิดว่าอำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดเป็นของตนและพวกของตน เช่นเดียวกับกรณีเมียนมาร์ที่ขังนางอองซานซูจีเสียอีกหลายสิบเดือน ฯลฯ เราได้เห็นการยืนยันวิถีประชาธิปไตยในการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่ได้คนผิวสีมาปกครองประเทศที่เคยเชื่อกันว่าผิวขาว ได้เห็นนายกรัฐมนตรีอิตาลีที่แทบจะเกาะเก้าอี้ไม่อยู่ ทั้งที่มีเสียงข้างมากในสภาเมื่อความประพฤติส่วนตัวถูกตั้งคำถามจากสังคม ได้เห็นประชาธิปไตยต่อเนื่องในประเทศใหญ่ยักษ์อย่างอินโดนีเซีย ทั้งที่มีประวัติศาสตร์เผด็จการมาตั้งแต่ได้รับเอกราช ฯลฯ วันนี้เราถกเถียงกันอย่างรุนแรงว่ารัฐบาลเลือกตั้งในระบอบอำมาตยาธิปไตยอย่างคณะของคุณอภิสิทธิ์หรือมวลชนสีเหลืองของคุณสนธิลิ้ม สามารถทดแทนรัฐบาลของแท้ในระบอบประชาธิปไตยได้หรือไม่ คุณทักษิณเป็นเหตุหรือเป็นผลของประชาธิปไตยที่เริ่มจะได้ผลในเมืองไทย รัฐธรรมนูญฉบับใดควรเป็นธงปฏิรูปการเมืองที่ยั่งยืน ฯลฯ ข้อถกเถียงยังไม่ได้หลุดพ้นจากกรอบที่เอ่ยมาข้างต้นเลย ชาวประชาธิปไตยที่เคารพรักทั้งหลายครับ รู้สึกสับสนกับเหตุการณ์บ้านเมืองขึ้นเมื่อใด กรุณาย้อนกลับไปตรวจสอบลักษณะพื้นฐานทั้ง ๕ ข้อของประชาธิปไตย แล้วท่านจะตอบตัวเองได้ชัดเจนว่าเรากำลังอยู่ในระบอบไหนและของใคร.
วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552
สิทธิมนุษยชน
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) คือการประกาศเจตนารมณ์ในการร่วมมือระหว่างประเทศที่มีความสำคัญในการวางกรอบเบื้องต้นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และเป็นเอกสารหลักด้านสิทธิมนุษยชนฉบับแรก ซึ่งที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ให้การรับรองตามข้อมติที่ 217 A (III) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 โดยประเทศไทยออกเสียงสนับสนุน
เนื้อหา
ความเป็นมาที่ปรากฏในคำปรารภ
"ด้วยเหตุที่การยอมรับศักดิ์ศรีประจำตัว และสิทธิซึ่งเสมอกันและไม่อาจโอนแก่กันได้ ของสมาชิกทั้งปวงแห่งครอบครัวมนุษย์เป็นรากฐานของเสรีภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพในพิภพ
ด้วยเหตุที่การเมินเฉย และดูหมิ่นเหยียดหยามสิทธิมนุษยชนได้ก่อให้เกิดการอันป่าเถื่อนโหดร้ายทารุณ ซึ่งได้กระทบกระเทือนมโนธรรมของมนุษยชาติอย่างรุนแรง และโดยเหตุที่ได้มีการประกาศปณิธานอันสูงสุดของสามัญชนว่าถึงวาระแห่งโลกแล้วที่มนุษย์จะมีเสรีภาพในการพูดและในความเชื่อถือ รวมทั้งมีเสรีภาพจากความกลัวและความต้องการ
ด้วยเหตุที่เป็นสิ่งจำเป็นสิทธิมนุษยชนควรได้รับความคุ้มครองโดยหลักนิติธรรม ถ้าไม่พึงประสงค์ให้มนุษย์ต้องถูกบีบบังคับให้หาทางออก โดยการกบฏต่อทรราชและการกดขี่อันเป็นที่พึ่งแห่งสุดท้าย
ด้วยเหตุที่ประดาประชาชนแห่งสหประชาชาติได้ยืนยันไว้ในกฎบัตรถึงความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษย์ชนขั้นพื้นฐานในศักดิ์ศรีและคุณค่าของตัวบุคคล และในความเสมอกันแห่งสิทธิของ ทั้งชายและหญิง และได้ตัดสินใจที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคมตลอดจนมาตรฐานแห่งชาติให้ดีขึ้น ได้มีเสรีภาพมากขึ้น
ด้วยเหตุที่รัฐสมาชิกได้ปฏิญาณที่จะให้ได้มา โดยร่วมมือกับสหประชาชาติ ซึ่งการส่งเสริมการเคารพและการถือปฏิบัติโดยสากลต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
ด้วยเหตุที่ความเข้าใจตรงกันในเรื่องสิทธิและเสรีภาพมีความสำคัญยิ่งเพื่อให้ปฏิญาณนี้เกิดสัมฤทธิผลอย่างเต็มเปี่ยม
ดังนั้น บัดนี้
สมัชชาจึงประกาศให้
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้เป็นมาตรฐานร่วมกันแห่งความสำเร็จ สำหรับประชาชนทั้งหลายและประชาชาติทั้งปวง ด้วยจุดประสงค์ที่จะให้ปัจเจกบุคคลทุกผู้ทุกนามและองค์กรของสังคมทุกหน่วย โดยการระลึกเสมอ ๆ ถึงปฏิญญานี้ พยายามสั่งสอนและให้การสอนและให้การศึกษาเพื่อส่งเสริมการเคารพต่อสิทธิและเสรีภาพเหล่านี้ และด้วยมาตรฐานที่เจริญก้าวหน้าไปข้างหน้า ทั้งในและระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งการยอมรับและการถือปฏิบัติต่อสิทธิเหล่านั้นสากลและได้ผลทั้งในหมู่ประชาชนของรัฐสมาชิกเอง และในหมู่ประชาชนแห่งดินแดนที่อยู่ภายใต้ดุลอาณาของรัฐสมาชิกดังกล่าว"
เนื้อหาของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
นอกจากเจตนารมณ์ที่ปรากฏในคำปรารภของปฏิญญา หลักการเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนสำคัญ 30 ประการที่ปรากฏในปฏิญญาได้แก่
มนุษย์ทั้งหลายเกิดมาอิสระเสรีและเท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิทุกคนได้รับการประสิทธิประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง
บุคคลชอบที่จะมีสิทธิและเสรีภาพประดาที่ระบุไว้ในปฏิญาณนี้ ทั้งนี้โดยไม่มีการจำแนกความแตกต่างในเรื่องใดๆ เช่น เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรือทางอื่นใด ชาติหรือสังคมอันเป็นที่มาเดิม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นใด นอกจากนี้การจำแนกข้อแตกต่างโดยอาศัยมูลฐานแห่งสถานะทางการเมืองทางดุลอาณาหรือทางเรื่องระหว่างประเทศของประเทศ หรือดินแดนซึ่งบุคคลสังกัดจะทำมิได้ ทั้งนี้ไม่ว่าดินแดนดังกล่าวจะเป็นเอกราชอยู่ในความพิทักษ์ มิได้ปกครองตนเองหรืออยู่ภายใต้การจำกัดแห่งอธิปไตยอื่นใด
บุคคลมีสิทธิในการดำรงชีวิต ในเสรีธรรมและในความมั่นคงแห่งร่างกาย
บุคคลใดจะถูกบังคับให้เป็นทาส หรืออยู่ภาระจำยอมใดๆ มิได้การเป็นทาสและการค้าทาสจะมีไม่ได้ในทุกรูปแบบ
บุคคลใดจะถูกทรมาน หรือได้รับการปฏิบัติ หรือการลงทัณฑ์ซึ่งทารุณโหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือหยามเกียรติมิได้
ทุกๆ คนมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคคลในกฎหมายไม่ว่า ณ ที่ใด
ทุกๆ คนต่างเสมอกันในกฎหมายและชอบที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใดๆ ทุกๆ คนชอบที่จะได้รับการคุ้มครองอย่างเสมอหน้าจากการเลือกปฏิบัติใดๆ อันเป็นการล่วงละเมิดปฏิญญานี้ และต่อการยุยงส่งเสริมให้เกิดการเลือกปฏิบัติเช่นนั้น
บุคคลมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาอย่างได้ผลโดยศาลแห่งชาติ ซึ่งมีอำนาจเนื่องจากการกระทำใดๆ อันละเมิดต่อสิทธิขั้นมูลฐาน ซึ่งตนได้รับจากรัฐธรรมนูญหรือจากกฎหมาย
บุคคลใดจะถูกจับ กักขัง หรือเนรเทศโดยพลการมิได้
บุคคลชอบที่จะเท่าเทียมกันอย่างบริบูรณ์ในอันที่จะได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรมและเปิดเผยโดยศาลซึ่งเป็นอิสระและไร้อคติ ในการวินิจฉัยชี้ขาดสิทธิและหน้าที่ ตลอดจนข้อที่ตนถูกกล่าวหาใดๆ ทางอาญา
(1) บุคคลซึ่งถูกกล่าวหาด้วยความผิดทางอาญา มีสิทธิที่จะได้รับการสันนิฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะมีการพิสูจน์ว่ามีความผิดตามกฎหมายในการพิจารณาโดยเปิดเผย ณ ที่ซึ่งตนได้รับหลักประกันทั้งหมดที่จำเป็นในการต่อสู้คดี (2) บุคคลใดจะถูกถือว่ามีความผิดอันมีโทษทางอาญาใดๆ ด้วยเหตุผลที่ตนได้กระทำ หรือ และเว้นการกระทำการใดๆ ซึ่งกฎหมายของประเทศหรือกฎหมายระหว่างประเทศ ในขณะที่มีการกระทำนั้นมิได้ระบุว่าเป็นความผิดทางอาญามิได้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่ใช้อยู่ในขณะที่การกระทำความผิดทางอาญานั้นเกิดขึ้นมิได้
การเข้าไปแทรกสอดโดยพลการในกิจส่วนตัว ครอบครัว เคหะสถาน การส่งข่าสาร ตลอดจนการโจมตีต่อเกียรติยศและชื่อเสียงของบุคคลนั้นจะทำมิได้ ทุกๆ คน มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายจากการแทรกสอดและโจมตีดังกล่าว
(1) บุคคลมิสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการเคลื่อนย้าย และในถิ่นที่อยู่ภายในขอบเขตดินแดนของแต่ละรัฐ (2) บุคคลมิสิทธิที่จะเดินทางออกจากประเทศใดๆ รวมทั้งของตนเองและที่จะกลับคืนสู่บ้านเกิดเมืองนอน
(1) บุคคลมีสิทธิที่จะแสวงหาและพักพิงในประเทศอื่นๆ เพื่อลี้ภัยจากการกดขี่ข่มเหง (2) สิทธินี้จะกล่าวอ้างมิได้ในกรณีการฟ้องคดี ซึ่งโดยความจริงเกิดจากความผิดที่ไม่ใช่เรื่องการเมือง หรือจากการกระทำที่ขัดต่อความมุ่งประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ
(1) บุคคลมีสิทธิในการถือสัญชาติ (2) การถอนสัญชาติโดยพลการ หรือการปฏิเสธสิทธิที่จะเปลี่ยนสัญชาติของบุคคลใดนั้นจะกระทำมิได้
(1) ชายและหญิงเมื่อเจริญวัยบริบูรณ์แล้ว มีสิทธิที่จะสมรสและที่จะสร้างครอบครัวโดยไม่มีการจำกัดใดๆ เนื่องจากเชื้อชาติ สัญชาติ หรือศาสนา บุคคลชอบที่จะมีสิทธิเท่าเทียมกันในเรื่องการสมรส ในระหว่างการสมรสและในการขาดการสมรส (2) การสมรสจะกระทำได้ก็โดยความยินยอมอย่างเสรี และเต็มใจของคู่บ่าวสาวผู้ตั้งใจจะกระทำการสมรส (3) ครอบครัว คือ กลุ่มซึ่งเป็นหน่วยธรรมชาติและพื้นฐานของสังคมและชอบที่จะได้รับการคุ้มครองโดยสังคมและรัฐ
(1) บุคคลมีสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินโดยลำพังตนเอง และโดยการร่วมกับผู้อื่น (2) การยึดเอาทรัพย์สินของบุคคลใดไปเสียโดยพลการกระทำมิได้
บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพแห่งความคิด มโนธรรม และศาสนา สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะเปลี่ยนศาสนา หรือความเชื่อถือ และเสรีภาพ ที่จะแสดงให้ศาสนาหรือความเชื่อถือประจักษ์ในรูปของการสั่งสอน การปฏิบัติกิจความเคารพสักการะบูชา สวดมนต์ และการถือปฏิบัติพิธีกรรม ไม่ว่าโดยลำพังตนเอง หรือร่วมกับผู้อื่นในประชาคมและในที่สาธารณะหรือส่วนตัว
บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพแห่งความเห็นและการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะยึดมั่นในความเห็นโดยปราศจากการแทรกสอดและที่จะแสวงหารับ ตลอดจนแจ้งข่าว รวมทั้งความคิดเห็นโดยผ่านสื่อใดๆ และโดยมิต้องคำนึงถึงเขตแดน
(1) บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการชุมนุม และการสมาคมโดยสงบ (2) การบังคับให้บุคคลเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมจะทำมิได้
(1) บุคคลมีสิทธิที่จะเข้าร่วมในรัฐบาลแห่งประเทศของตน ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยผู้แทนซึ่งผ่านการเลือกอย่างเสรี
(2) บุคคลมีสิทธิเข้าถึงเท่ากันในบริการสาธารณะในประเทศของตน
(3) เจตจำนงของประชาชนจะเป็นฐานแห่งอำนาจของรัฐบาล เจตจำนงนี้จะแสดงออกโดยการเลือกตั้งเป็นครั้งเป็นคราวอย่างแท้จริง ด้วยการให้สิทธิออกเสียงอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันและโดยการลงคะแนนลับหรือวิธีการลงคะแนนอย่างเสรีที่คล้ายคลึงกัน
ข้อ 22
ในฐานะสมาชิกของสังคมด้วยความเพียรพยายามของชาติตลอดจนความร่วมมือระหว่างประเทศและโดยสอดคล้องกับการจัดระเบียบและทรัยากรของแต่ละรัฐ บุคคลมีสิทธิในความมั่นคงทางสังคมและชอบที่จะได้รับผลแห่งสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมซึ่งจำเป็นต่อศักดิ์ศรีและการพัฒนาบุคคลิกภาพอย่างเสรีของตน
ข้อ 23
(1) บุคคลมีสิทธิที่จะทำงานที่จะเลือกงานอย่างเสรี ที่จะมีสภาวะการทำงานที่ยุติธรรมและพอใจ และที่จะได้รับความคุ้มครองจากการว่างงาน
(2) บุคคลมิสิทธิในการรับค่าตอบแทนเท่ากันสำหรับการทำงานที่เท่ากัน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติใดๆ
(3) บุคคลผู้ทำงานมีสิทธิในรายได้ซึ่งยุติธรรม และเอื้อประโยชน์เพื่อประกันสำหรับตนเองและครอบครัวให้การดำรงชีวิตมีค่าควรแก่ศักดิ์ศรีของมนุษย์ และถ้าจำเป็นก็ชอบที่จะได้รับความคุ้มครองทางสังคมอื่นๆ เพิ่มเติม
(4) บุคคลมีสิทธิที่จะก่อตั้งและเข้าร่วมกับสหภาพแรงงานเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของตน
ข้อ 24
บุคคลมีสิทธิในการพักผ่อนและเวลาว่าง รวมทั้งการจำกัดเวลาทำงานที่ชอบด้วยเหตุผลและมีวันหยุดครั้งคราวที่ได้รับค่าตอบแทน
ข้อ 25
(1) บุคคลมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอสำกรับสุขภาพ และความอยู่ดีของตนและครอบครัว รวมทั้งอาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาล และบริการสังคมที่จำเป็นและสิทธิในความมั่นคงในกรณีว่างงาน เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เป็นหม้าย วัยชรา หรือการขาดปัจจัยในการเลี้ยงชีพอื่นใดในพฤติการณ์อันเกิดจากที่ตนจะควบคุมได้
(2) มารดาและบุตรชอบที่จะได้รับการดูแลแลความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เด็กทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นบุตรในหรือนอกสมรสย่อมได้รับความคุ้มครองทางสังคมเช่นเดียวกัน
ข้อ 26
(1) บุคคลมีสิทธิในการศึกษา การศึกษาจะเป็นสิ่งที่ให้เปล่าโดยไม่คิดมูลค่า อย่างน้อยที่สุดในขั้นประถมศึกษาและขั้นพื้นฐาน ขั้นประถมศึกษาให้เป็นการศึกษาภาคบังคับ ขั้นเทคนิคและขั้นประกอบอาชีพเป็นการศึกษาที่จะต้องจัดมีขึ้นโดยทั่วๆ ไป และขั้นสูงเป็นขั้นที่จะเปิดให้ทุกคนเท่ากันตามความสามารถ
(2) การศึกษาจะมุ่งไปในทางพัฒนาบุคคลิกภาพของมนุษย์อย่างเต็มที่และเพื่อเสริมพลังเคารพต่อสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นมูลฐานให้แข็งแกร่ง ทั้งจะมุ่งเสริมความเข้าใจ ขันติ และมิตรภาพในระหว่างประชาชาติ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา และจะมุ่งขยายกิจกรรมของสหประชาชาติเพื่อการธำรงสันติภาพ
(3) ผู้ปกครองมีสิทธิก่อนผู้อื่นที่จะเลือกชนิดของการศึกษาสำหรับบุตรหลานของตน
ข้อ 27
(1) บุคคลมีสิทธิที่จะเข้าร่วมการใช้ชีวิตทางด้านวัฒนธรรมในประชาคมอย่างเสรี ที่จะพึงใจในศิลปะและมีส่วนในความคืบหน้าและผลประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์
(2) บุคคลมีสิทธิในการรับความคุ้มครองประโยชน์ทางด้านศีลธรรมและทางวัตถุอันเป็นผลได้จากการประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ วรรณกรรมและศิลปะซึ่งตนเป็นเจ้าของ
ข้อ 28
บุคคลชอบที่จะได้รับประโยชน์จากระเบียบสังคมและระหว่างประเทศอันจะอำนวยให้การใช้สิทธิและเสรีภาพบรรดาที่ได้ระบุในปฏิญญานี้ทำได้อย่างเต็มที่
ข้อ 29
(1) บุคคลมีหน้าที่ต่อประชาชนอันเป็นที่เดียวซึ่งบุคคิกภาพของตนจะพัฒนาได้อย่างเสรีและเต็มความสามารถ
(2) ในการใช้สิทธิและเสรีภาพ บุคคลต้องอยู่ใต้เพียงเช่นที่จำกัดโดยกำหนดแห่งกฎหมายเฉพาะ เพื่อความมุ่งประสงค์ให้ได้มาซึ่งการยอมรับ และการเคารพโดยชอบในสิทธิ เสรีภาพของผู้อื่น และเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดอันยุติธรรมของศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยของประชาชาติและสวัสดิการโดยทั่วๆ ไป ในสังคมประชาธิปไตย
(3) สิทธิและอิสรภาพเหล่านี้ มิว่าจะด้วยกรณีใดจะใช้ให้ขัดกับความมุ่งประสงค์และหลักการของสหประชาชาติไม่ได้
ข้อ 30
ข้อความต่างๆ ตามปฏิญญานี้ไม่เปิดช่องที่จะแปลความได้ว่าให้สิทธิใดๆ แก่รัฐ กลุ่มชนหรือบุคคลใดๆ ที่จะประกอบกิจกรรม หรือกระทำการใดๆ อันมุ่งต่อการทำลายสิทธิและเสรีภาพใดๆ บรรดาที่ได้ระบุไว้ในบทบัญญัติฉบับนี้
วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552
ปฎิวัติ ฝรั่งเศส
สาเหตุของการปฏิวัติฝรั่งเศสนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
สาเหตุที่ฝังรากลึก
สาเหตุที่ฝังรากลึก หรือ Les causes profondes ได้แก่ สภาพทางสังคม, การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย, และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
สภาพทางสังคม
สมัยนั้น สังคมของฝรั่งเศสก่อนหน้าการปฏิวัตินั้น แบ่งได้เป็น 3 ฐานันดร คือ
ขุนนาง มีประมาณ 400,000 คน แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 3 กลุ่มคือ
ขุนนางโดยเชื้อสาย (La noblesse d'épée) สืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางต่างๆ
ขุนนางรุ่นใหม่ (La noblesse de robe) ได้รับตำแหน่งจากการรับใช้พระมหากษัตริย์ มักจะมีความกระตือรือร้นที่จะได้รับการยอมรับจากสังคมเท่าขุนนางพวกแรก
ขุนนางท้องถิ่น (La noblesse de province) มีฐานะสู้ขุนนางสองประเภทแรกไม่ได้ มักจะโจมตีชนชั้นปกครองพวกอื่นเรื่องการเอาเปรียบสังคม
นักบวช มีประมาณ 115,000 คน ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยอีก 2 กลุ่มคือ
นักบวชชั้นสูง เช่น มุขนายก คาร์ดินัล พวกนี้จะใช้ชีวิตอย่างหรูหราราวกับเจ้าชาย
นักบวชชั้นต่ำ ได้แก่นักบวชทั่วไป มีฐานะใกล้เคียงกับชนชั้นใต้ปกครอง โดยมากมีชีวิตค่อนข้างแร้นแค้น
ฐานันดรที่สาม (tiers état) เป็นส่วนที่เหลือของประเทศ เช่น ชนชั้นกลางและชาวนา (ประมาณ 25.5 ล้านคนในสมัยนั้น)
สองฐานันดรแรกซึ่งมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ถือครองที่ดินส่วนมากของประเทศ และมีตัวแทนอยู่ในรัฐสภา ทำให้ฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเนื่องจากมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกันอยู่มาก
การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย
ระบบการบริหารประเทศล้าหลัง ไม่เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น การเก็บภาษีอย่างไม่เป็นระบบ (อัตราภาษีศุลกากรในแต่ละจังหวัดต่างกัน, การเก็บภาษีไม่ทั่วถึง, ประเภทภาษีล้าสมัย) ระบบกฎหมายยุ่งเหยิง (ส่วนเหนือของประเทศใช้กฎหมายจารีตประเพณีอย่างอังกฤษ, ส่วนใต้ใช้กฎหมายโรมัน) การยกเว้นภาษีให้สองฐานันดรแรกที่มีฐานะร่ำรวย ทำให้ฐานันดรที่สามที่มีฐานะยากจนอยู่แล้วต้องรับภาระภาษีของประเทศไว้ทั้งหมด เมื่อสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำสงครามสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย จึงทรงรีดเอากับประชาชน ทำให้มีความเป็นอยู่แร้นแค้นยิ่งขึ้น อีกทั้งในยามสงบราชสำนักยังใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย
การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
ในยุคนั้นได้มีการตื่นตัวทางศีลธรรม นักเขียนเช่นวอลแตร์และรุสโซมีอิทธิพลต่อความคิดของปัญญาชนในยุคนั้น ความคิดของท่านเหล่านี้ได้จุดประกายเกี่ยวกับความเสมอภาคและเสรีภาพ ส่วนใหญ่เป็นแนวคิดแบบสุดโต่ง ทำให้เริ่มมีการไม่เห็นด้วยกับระบบการปกครองขึ้นอย่างเงียบ ๆ
สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว
สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว หรือ Les cause immédiates มีสาเหตุหลักเริ่มต้นมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และการพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจนั้น ก็ได้นำไปสู่ความไม่พอใจของคนในชนชั้นต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบ ก่อนจะลุกลามไปทั่วประเทศ และกลายเป็นการปฏิวัติในที่สุด
ในปี พ.ศ. 2319 ประเทศฝรั่งเศสมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจอย่างหนัก เนื่องจากประเทศเป็นหนี้จากการกู้ยืมเงินมาใช้ในสงครามกู้อิสรภาพของสหรัฐฯ และไม่สามารถนำเงินมาชำระดอกเบี้ยได้ อีกทั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นได้หยุดชะงักลงตั้งแต่ราว ๆ ปี พ.ศ. 2270 แล้ว
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จึงทรงแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเป็นเสนาบดีการคลัง เช่น ตูร์โกต์, เนคเกร์, คาลอนน์ ท่านเหล่านี้ได้เรียกร้องให้พระเจ้าหลุยส์ทรงระงับสิทธิพิเศษในการงดเว้นภาษีของขุนนางและพระสงฆ์ แต่ได้ประสบกับการต่อต้านอย่างแข็งขันจากชนชั้นขุนนางที่ต้องการรักษาสิทธิพิเศษ ทำให้ภาระหนักตกอยู่กับราษฎรธรรมดาเช่นเดิม
การฟื้นฟูเศรษฐกิจตามแนวคิดของตูร์โกต์ เริ่มขึ้นเมื่อเขารับตำแหน่งเป็นเสนาบดีการคลังในปี พ.ศ. 2319 เขาเป็นผู้ที่นิยมนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรี เขาผลักดันให้มีการรวมศูนย์การเก็บภาษี เพื่อให้เป็นระบบและได้เม็ดเงิมเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น และให้มีการเปิดเสรีการค้า แต่ด้วยนโยบายที่เสรีของเขาทำให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ได้แก่ พระสงฆ์ ขุนนาง นำโดยพระมเหสีคือ พระนางมารี อองตัวเนตไม่พอใจ และพากันกดดันพระเจ้าหลุยส์ให้ปลดเขาออกจากตำแหน่ง เขาจึงถูกปลดหลังจากดำรงตำแหน่งได้ 2 ปี คือในปี พ.ศ. 2321
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสืบต่อจากเขา คือ เนคเกร์ เขาใช้นโยบายตัดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลและขยายฐานภาษี ทำให้เก็บได้ทั่วถึงกว่าเดิม เขาทำหน้าที่ได้เป็นที่พอใจของประชาชน แต่ไปขัดผลประโยชน์ของชนชั้นสูงจึงถูกปลดออกในปี พ.ศ. 2324
ในปี พ.ศ. 2331 ได้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการเพาะปลูกไม่ได้ผล (ประเทศฝรั่งเศสสมัยนั้นเป็นประเทศเกษตรกรรม) ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนข้าวสาลี ก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 2329 ประเทศจำเป็นต้องหยุดการนำเข้าขนแกะและเสื้อผ้าจากสเปน ประเทศจึงต้องนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากอังกฤษแทน สินค้าจากอังกฤษได้เข้ามาตีตลาดฝรั่งเศส จนอุตสาหกรรมหลายอย่างของชาวฝรั่งเศสต้องปิดตัวลง ประชาชนไม่พอใจและเกิดความไม่มั่นใจต่อเสถียรภาพของประเทศ
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งต่อจากเนคเกร์คือ คาลอนน์ เขาดำเนินการตามแผนที่ปรับปรุงมาจากการดำเนินงานของตูร์โกต์ โดยเขาได้ยกเลิกภาษีโบราณบางประเภท และได้สร้างภาษีที่ดินแบบใหม่โดยทุกคนที่ถือครองที่ดินจะต้องเสีย เขาได้ทำการเรียกประชุมสภา l'assemblée des notables เพื่อให้อนุมัติภาษีใหม่นี้ แต่สภาไม่ยอม คาลอนน์ถูกปลดในปี พ.ศ. 2330
ความขัดแย้งระหว่างสภา (ประกอบด้วยฐานันดรขุนนาง) และรัฐบาลเลวร้ายลงจนกลายเป็นความวุ่นวาย พวกขุนนางได้ขอให้พระเจ้าหลุยส์เรียกประชุมสภา les états généraux ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนชนชั้นขุนนาง พระสงฆ์และประชาชนทั่วไป รวมทั้งผู้ก่อความวุ่นวายที่ทำให้ประเทศอยู่ในภาวะอนาธิปไตยเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ขึ้น เพื่อบีบบังคับพระเจ้าหลุยส์ให้ทำตามความต้องการของพวกขุนนาง โดยใช้มติของสภานี้กดดันพระองค์
การปฏิวัติ
Les états généraux
ในปี พ.ศ. 2331 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เรียกประชุมสภา les états généraux ซึ่งมีการประชุมครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2157 ก่อนหน้าการประชุม ได้มีการถวายฎีกาทั่วประเทศ มีการควบคุมและห้ามการเผยแพร่ใบปลิวที่มีเนื้อหาเสรีจนน่าจะเป็นอันตราย เนคเกร์ที่ถูกเรียกกลับมาดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ. 2331 ได้เรียกร้องให้มีการเพิ่มจำนวนตัวแทนจากชนชั้นที่ 3 ให้มากขึ้นเป็น 2 เท่า เพราะจำนวนตัวแทนในขณะนั้นมีน้อยเกินไป และเขายังเรียกร้องให้ปลดตัวแทนบางส่วนจากชนชั้นที่ 1 และ 2 อีกด้วย
สภา les états généraux ได้มีการประชุมที่พระราชวังแวร์ซายส์ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2332 การประชุมครั้งนี้ใช้ระบบลงคะแนนคือ 1 ฐานันดรต่อ 1 เสียง ซึ่งไม่ยุติธรรม เพราะฐานันดรที่สามซึ่งมีจำนวนถึง 90% ของประชากรกลับได้คะแนนเสียงเพียง 1 ใน 3 ของสภา และวิธีการลงคะแนนนี้จะทำให้ฐานันดรที่สามไม่มีทางมีเสียงเหนือกว่า 2 ฐานันดรแรก โดยเสนอให้ลงคะแนนแบบ 1 คน 1 เสียงแทน เมื่อข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธ ทำให้ตัวแทนฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเป็นอย่างมากจึงไม่เข้าร่วมการประชุม และไปตั้งสภาของตนเองเรียกว่าสมัชชาแห่งชาติ ซึ่งเปิดประชุมเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ปีเดียวกัน. สภานี้ยังมีตัวแทนจากฐานันดรที่ 1, 2 บางส่วนเข้าร่วมประชุมด้วย ได้แก่ตัวแทนส่วนใหญ่ของชนชั้นนักบวช และตัวแทนที่เป็นขุนนางหัวสมัยใหม่นำโดยมิราโบ
สมัชชาแห่งชาตินี้ประกาศว่า สภาของตนเท่านั้นที่มีสิทธิ์ขึ้นภาษี เนื่องจากไม่ไว้วางใจการทำงานของรัฐบาลของพระเจ้าหลุยส์ ที่สนับสนุนแต่ขุนนางและพระสงฆ์ พระเจ้าหลุยส์พยายามหาทางประนีประนอมโดยเสนอว่าจะจัดประชุมสภา les états généraux ขึ้นอีกครั้งพวกขุนนางและพระสงฆ์ตอบตกลง แต่สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมประชุม โดยไปจัดการประชุมของตัวเองขึ้นที่สนามเทนนิส (สมัยนั้นเรียกว่า Jeu de paume) ในวันที่ 20 มิถุนายน โดยมีมติว่าจะไม่ยุบสภานี้จนกว่าประเทศฝรั่งเศสจะได้รัฐธรรมนูญ
เปิดฉากการปฏิวัติ
หลังจากที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกกดดันจากกองทัพ พระองค์ก็ทรงเรียกร้องให้ตัวแทนจาก 2 ฐานันดรแรกเข้าร่วมประชุมสภา Assemblée Nationale ด้วยเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดสภาใหม่ในวันที่ 9 กรกฎาคมคือ Assemblée Nationale Constituante เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ
การยึดคุกบาสตีย์
ดู: การโจมตีคุกบาสตีย์
แต่หลังจากนั้นไม่นาน พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสก็ได้รับการกดดันอีกครั้งจากพระนางมารี อองตัวเนต และพี่ชายของพระเจ้าหลุยส์คือ Comte d'Artois ซึ่งจะได้เป็นพระเจ้าชาร์ลส์ที่สิบในอนาคต ทำให้พระองค์ทำการเรียกกองทหารที่จงรักภักดีต่อพระองค์จากต่างประเทศเข้ามาประจำการในกรุงปารีสและพระราชวังแวร์ซายส์ ทำให้เกิดความโกรธแค้นในหมู่ประชาชน นอกจากนี้พระเจ้าหลุยส์ยังทรงปลดเนคเกร์ลงจากตำแหน่งอีกครั้ง ทำให้ประชาชนออกมาก่อจลาจลเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม และยึดคุกบาสตีย์ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์พระราชอำนาจของกษัตริย์ได้ในวันที่ 14 กรกฎาคม
หลังจากนั้นพระเจ้าหลุยส์ก็เรียกเนคเกร์มาดำรงตำแหน่งอีกครั้งในวันที่ 16 กรกฎาคม เนคเกร์ได้พบกับประชาชนที่ศาลาว่าการกรุงปารีส (l'Hôtel de Ville) ซึ่งถูกประดับไปด้วยธงสามสีคือแดง ขาว น้ำเงิน วันเดียวกันนั้น Comte d'Artois ก็ได้หนีออกนอกประเทศ ถือเป็นสมาชิกราชวงศ์คนแรก ๆ ที่หนีออกนอกประเทศในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส
หลังจากนั้นไม่นาน เทศบาลและกองกำลังติดอาวุธของประชาชน (Garde Nationale) ก็ได้ถูกตั้งขึ้นอย่างรีบเร่งโดยประชาชนชาวปารีส โดยในไม่ช้าทั่วประเทศก็มีกองกำลังติดอาวุธของประชาชนตามอย่างกรุงปารีส กองกำลังนี้อยู่ใต้การบัญชาการของนายพลเดอลาฟาแยตต์ ซึ่งท่านผู้นี้เคยร่วมรบในสงครามกู้อิสรภาพของสหรัฐอเมริกามาก่อน เมื่อพระเจ้าหลุยส์เห็นว่าทหารต่างชาติไม่สามารถรักษาความสงบไว้ได้ ก็ทรงปลดประจำการทหารเหล่านั้น
ผลของการปฏิวัติในช่วงแรก
การยุติสิทธิพิเศษต่าง ๆ
สภา Assemblée Nationale ได้ประกาศว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน และล้มเลิกสิทธิการงดเว้นภาษีของคณะสงฆ์ รวมทั้งให้ทุกคนมีโอกาสในการประกอบอาชีพทุกอย่างเท่าเทียมกัน ภายหลังจากการลงมติของสภาฯ ไม่กี่วันก่อนหน้านี้ คือวันที่ 3-4 สิงหาคม 2332 ซึ่งได้รับมติสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากสมาชิกสภา
คำประกาศสิทธิของมนุษย์และพลเมือง
หรือ La déclaration des droits de l'homme et du citoyen
เป็นคำประกาศที่ปูทางไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากปรัชญารู้แจ้ง (Enlightened) ซึ่งเป็นปรัชญาที่ได้รับความนิยมในยุคนั้น และคำประกาศนี้ได้แบบอย่างจากรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ คำประกาศนี้ผ่านการพิจารณาของสภาฯ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2332 มีเนื้อหาหลักแสดงถึงหลักการพื้นฐานของการปฏิวัติ ภายใต้คำขวัญที่ว่า "เสรีภาพ,เสมอภาค,ภราดรภาพ"
ในขณะนั้นมีข่าวลือในหมู่ประชาชนว่าจะมีการยึดอำนาจคืนของฝ่ายนิยมระบอบเก่าเมื่อชาวปารีสรู้ข่าวก็มีการตื่นตัวกันขนานใหญ่ ดังนั้นประชาชนชาวปารีสซึ่งส่วนมากเป็นผู้หญิง ได้เดินขบวนไปยังพระราชวังแวร์ซายส์และเชิญพระเจ้าหลุยส์พร้อมทั้งราชวงศ์มาประทับในกรุงปารีส ในวันที่ 5-6 ตุลาคม ปีเดียวกัน โดยมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่อนุรักษ์นิยมตามเสด็จกลับกรุงปารีสด้วย
สำหรับสภา Assemblée Nationale ในขณะนั้นประกอบด้วยสมาชิกที่หัวก้าวหน้าเป็นส่วนมาก แต่มีภารกิจสำคัญอันดับแรกของสภาคือการดำรงสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ ดังนั้นจึงยังไม่มีการโค่นล้มสถาบันกษัตริย์ในขณะนั้น
การปฏิรูปครั้งใหญ่
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของฝรั่งเศสมีผลบังคับใช้เมื่อปลายปี พ.ศ. 2332 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้
ตำแหน่งต่าง ๆ ในราชการไม่สามารถตกทอดไปยังลูกหลาน
จังหวัดต่าง ๆ ถูกยุบ, ประเทศถูกแบ่งเป็น 83 เขต (départements)
ศาลประชาชนถูกก่อตั้งขึ้น
มีการปฏิรูปกฎหมายของฝรั่งเศส
การเวนคืนที่ธรณีสงฆ์ แล้วนำมาค้ำประกันพันธบัตร ที่ออกเพื่อระดมทุนจากประชาชน มาแก้ไขปัญหาหนี้ของประเทศ
การปฏิรูปสถานะของพระสงฆ์
นอกจากที่ธรณีสงฆ์จะถูกเวนคืนแล้ว การปกครองของคณะสงฆ์ในประเทศฝรั่งเศสก็ยังถูกเปลี่ยนแปลง ตามกฎหมายการปกครองคณะสงฆ์ฉบับใหม่ที่ออกเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2333 โดยใช้การปกครองประเทศเป็นแม่แบบ คือกำหนดจำนวนสังฆราช (évêque) ไว้เขต (département) ละ 1 ท่าน และให้เมืองใหญ่แต่ละเมืองมีอัครสังฆราช (archévêque) 1 ท่าน โดยสังฆราชและอัครสังฆราชแต่ละท่านจะถูกเลือกโดยสมัชชาแห่งชาติ และได้รับเงินเดือนจากรัฐบาล นอกจากนี้ ผู้ที่จะมาเป็นพระสงฆ์ในทุกระดับจะต้องสาบานตนว่าจะจงรักภักดีต่อประเทศอีกด้วย
การจับกุม ณ วาแรน
มีข่าวลือสะพัดอย่างหนาหูว่า พระนางมารี อองตัวเนตนั้น ได้แอบติดต่อกับพี่ชายของพระองค์ คือจักรพรรดิลีโอโปลด์ที่ 2 แห่งออสเตรีย เพื่อที่จะให้จักรพรรดิยกทัพมาโจมตีฝรั่งเศสและคืนอำนาจให้ราชวงศ์ พระเจ้าหลุยส์นั้นไม่ได้พยายามหนีออกนอกประเทศหรือรับความช่วยเหลือ แต่จะทรงหนีไปตั้งมั่นอยู่กับนายพลบุยเล่ ที่จงรักภักดีและสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่พระองค์ พระองค์เสด็จออกจากพระราชวังตุยเยอรีในตอนกลางคืนของวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2334 แต่ทรงถูกจับได้ที่เมืองวาแรน ในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2334 ส่งผลให้ความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อพระองค์นั้นลดลงอย่างมาก พระองค์ถูกนำตัวกลับมากักบริเวณในกรุงปารีส
การสิ้นสุดของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
แม้ว่าสมาชิกส่วนใหญ่ของสภาฯ จะนิยมระบอบประชาธิปไตยโดยให้พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ มากกว่าระบอบสาธารณรัฐก็ตาม แต่ ณ ขณะนั้น พระเจ้าหลุยส์ก็ไม่ได้มีบทบาทมากไปกว่าหุ่นเชิด พระองค์ถูกบังคับให้ปฏิญาณตนต่อรัฐธรรมนูญ และให้ยอมรับเงื่อนไขที่ว่า เมื่อพระองค์กระทำการใดๆที่จะชักนำให้กองทัพต่างชาติมาโจมตีฝรั่งเศส หรือ กระทำสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ให้ถือว่าพระองค์สละราชสมบัติโดยอัตโนมัติ
ขณะเดียวกันนั้น ฌอง ปิแอร์ บริสโซต์ ได้ร่างประกาศโจมตีพระเจ้าหลุยส์ มีสาระสำคัญว่า พระเจ้าหลุยส์ทรงสละราชสมบัติไปตั้งแต่พระองค์เสด็จออกจากพระราชวังทุยเลอรีส์แล้ว ฝูงชนจำนวนมากพยายามเข้ามาใน ชอง เดอ มาร์ส เพื่อลงนามในใบประกาศนั้น ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้น สภาร่างรัฐธรรมนูญได้ขอร้องให้เทศบาลกรุงปารีสช่วยรักษาความสงบ แต่ไม่สำเร็จ ในที่สุด กองทหารองครักษ์ ภายใต้การบัญชาการของลาฟาแยตต์ ก็ได้เข้ามารักษาความสงบ ฝูงชนได้ปาก้อนหินใส่องครักษ์ ในช่วงแรก องครักษ์โต้ตอบด้วยการยิงขึ้นฟ้า แต่ไม่สำเร็จ จึงจำต้องยิงปืนใส่ฝูงชน ทำให้ประชาชนตายไปประมาณ 50 คน
หลังจากการสังหารหมู่ครั้งนี้ ทางการก็ได้ดำเนินการปราบปรามพวกสมาคมนิยมสาธารณรัฐต่างๆ รวมทั้งหนังสือพิมพ์ของพวกนี้อีกด้วย หนังสือพิมพ์เพื่อนประชาชน (l'ami du peuple) ของมาราต์ บุคคลที่มีแนวคิดแบบนี้เช่น มาราต์และเดสมูแลงต่างพากันหลบซ่อน ส่วนดังตงหนีไปอังกฤษ
ขณะที่ภายในฝรั่งเศสกำลังวุ่นวาย เหล่าราชวงศ์ของยุโรป โดยมีแกนนำคือกษัตริย์แห่งปรัสเซีย จักรพรรดิออสเตรีย และพระอนุชาของพระเจ้าหลุยส์ ก็ได้ร่วมมือกัน โดยมีเป้าหมายสำคัญคือให้พระเจ้าหลุยส์มีอิสรภาพสมบูรณ์และให้ยุบสภา Assemblée Nationale หากสิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น ก็จะโจมตีฝรั่งเศสเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย แต่ประชาชนชาวฝรั่งเศสไม่สนใจต่อคำประกาศดังกล่าว และเตรียมการต่อต้านอย่างแข็งขัน โดยส่งกำลังทหารไปยังชายแดน
วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552
ผมคือปีศาจ
ศักดินาแห่งโลกเก่า และความมัวเมาอดีต ความรักที่ถูกกีดกัน ผลักดันให้เขา"ปีศาจ"นักอุดมคติแห่งชนชั้นทลายกำแพงกั้น สู่ฝันแห่งความเสมอภาค รายละเอียด ผมเป็นปีศาจที่กาลเวลาได้สร้างขึ้นมาหลอกหลอน คนที่อยู่ในโลกเก่า ความคิดเก่า ทำให้เกิดความละเมอหวาดกลัว และไม่มีอะไรที่เป็นเครื่องปลอบใจท่านเหล่านี้ได้ เท่ากับไม่มีอะไรหยุดยั้งความรุดหน้าของกาลเวลาที่จะสร้างปีศาจเหล่านี้ให้มากขึ้นทุกที ท่านคิดจะทำลายปีศาจตนนี้ในคืนวันนี้ต่อหน้าสมาคมชั้นสูงเช่นนี้ แต่ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้ เพราะเขาอยู่ยงคงกระพันยิ่งกว่าอาคิลลิชหรือซิกฟริด เพราะเขาอยู่ในเกราะกำบังแห่งกาลเวลา ท่านจะเหนี่ยวรั้งอะไรไว้ได้บางสิ่งบางอย่างชั่วครั้งชั่วคราว แต่ท่านไม่สามารถรักษาทุกสิ่งทุกอย่างไว้ได้ตลอดไป โลกของเราเป็นคนละโลก... โลกของผมเป็นโลกธรรมดาสามัญชน